วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รายงานกลุ่มที่ 1 แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้

แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้ 

แนวความคิดของ Thai-UNAids Model (TUNA Model)
          แบ่งวงจรการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน คือ
          (1) Knowledge Vision (KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?”
          (2) Knowledge Sharing (KS) เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          (3) Knowledge Assets (KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” ที่ทำให้มีการนำความรู้ไปใช้งานและมีการต่อยอดยกระดับ 


วงจรการเรียนรู้ตามรูปแบบแนวคิดของThai-UNAids Model (TUNA Model) 


แนวความคิดของบริษัท ซีร็อค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Xerox Corporation) 
          การจัดการความรู้ตามแนวความคิดของบริษัท ซีร็อค คอร์ปอเรชัน จำกัด ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลักคือ
          1. การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม ( Transition and Behavior Management )
          2. การสื่อสาร(Communication) เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ทุกคนในองค์การเข้าใจในการจัดการเรียนรู้
          3. กระบวนการและเครื่องมือ (process and Tools) องค์การจะมีการพิจารณาและคัดเลือกกระบวนการ และเครื่องมือทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
          4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้(Training and learning) เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทุกระดับ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการ และการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ และมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับ การใช้ระบบหรือเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          5. การวัดผล(Measurement) เป็นสิ่งสำคัญที่บอกถึงสถานะของกระบวนการ หรือกิจกรรมภายในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงกระบวนการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
          6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Reward) เป็นการสร้างแรงจูงใจในช่วงเริ่มต้น เพื่อโน้มน้าวให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้

แนวความคิดของสตีเฟน เอฟ. กุ๊ดเฟลโลว์
          นำเสนอแนวความคิดการจัดการความรู้ หรือแบบจำลองปัจจัยขององค์การแห่งความรู้ ดังนี้
          1. พันธกิจ- วัตถุประสงค์ขององค์การ (Mission state-The Corporate Objective) จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้ต้องมีความสอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ ดังนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับแหล่งของความรู้ภายในและภายนอก และความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแข่งขัน
          2. การจัดการเนื้อหา(Content management) เป็นการเก็บ การจัดการ การสะสม องค์การที่มีคลังข้อมูลที่มีความหลากหลาย และมีการนำไปใช้ประโยชน์ต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนในแต่ละความสำคัญ เพื่อจะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย3. การจัดการกระบวนการ (Process Management)
          3. การจัดการกระบวนการ (Process Management) เป็นการใช้เครื่องมือในการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การนำข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์ และคุณค่าจากประสบการณ์ ความชำนาญที่มีอยู่ในองค์การ การจำแนกผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องและการค้นหาบทเรียนแห่งการเรียนรู้เป็นหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกที่จะกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันความรู้
          4. การจัดการการสื่อสาร (Communication Management) เป็นส่วนสำคัญขององค์การแห่งความรู้ คือ ความร่วมมือของคนภายในและภายนอกองค์การ เป็น แหล่งของข้อมูลข่าวสารที่จะสร้างความรู้ ประสบการณ์ของคนที่ยังไม่สามารถสร้างคลังความรู้ได้ ของธุรกิจ

แนวความคิดของมาร์ควอร์ดท์ (Marquardt)
          มาร์ควอร์ดท์ ได้นำเสนอแนวความคิดการจัดการความรู้ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
          1. การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) องค์การควรแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์ และมีผลต่อการดำเนินงานจากแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์การด้วยวิธีการต่างๆ
          2. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) เป็นการสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ภายใต้หน่วยงาน หรือคนในองค์การเป็นผู้สร้างความรู้รูปแบบต่างๆ
          3. การจัดเก็บและการสืบค้นความรู้(Knowledge Storage and Retrieval)
         4. การใช้ประโยชน์ และการถ่ายโอนความรู้ (Knowledge transfer and Utilization) การถ่ายทอดความรู้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                    การถ่ายทอดความรู้โดยตั้งใจมีวิถีทางต่างๆ
                    การถ่ายทอดความรู้โดยไม่ตั้งใจ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติหน้าที่ที่ทำทุกวัน โดยไม่ได้มีแบบแผน

แนวความคิดของคาร์ล เอ็ม. วิกก์(Karl M Wiig)
          เป็นการจัดการความรู้อย่างครอบคลุม (CKM: Comprehensive Knowledge Management) ดังต่อไปนี้
          1. กำหนดความรู้ (ทุนทางปัญญา) ที่ต้องสร้างและรักษา
          2. จัดหาและเปลี่ยนรูปแบบความรู้ที่ต้องการ
          3. ทำให้มั่นใจว่าความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในระดับที่เหมาะสม
          4. ควบคุมดูแลการจัดการความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น