วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นิทรรศการการการจัดการความรู้

"เปิดโลกนิทรรศการการจัดการความรู้"
จัดโดย นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี)
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาพกิจกรรม










วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์สำหรับครู

ยุทธศาสตร์สำหรับครู 


          1. ครูจะต้องยึดมาตรฐานหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหาให้สอดคล้องกับผู้เรียน เพื่อนำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรและสอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมของชุมชน สังคม และโลก
          2. ครูต้องมีความรู้ถูกต้อง ชัดเจน ลุ่มลึกในวิชาที่สอนเป็นพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
          3. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง โดยครูเอื้ออาทร ให้คำปรึกษาใกล้ชิด ดำรงความมีจิตวิญญาณของความเป็นครูดี
          4. การวัดและประเมิน ต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการวัดผลสัมฤทธิ์ การประเมินความงอกงามทุกด้าน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน มีวิธีการประเมินหลากหลาย มีแฟ้มคุณภาพผลงานที่กลั่นกรอง เลือกเฟ้น สะท้อนความเก่งรอบตัวของผู้เรียน

             5. การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูผู้สอนต้องชาญฉลาดในการใช้สิ่งรอบตัว สถานการณ์จริง สื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ ห้องสมุดโรงเรียน หรืออินเทอร์เน็ต รวมทั้งโลกใบนี้เป็นห้องเรียน 
          6. การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสุข อันเกิดจากการเรียนรู้และมี 
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นการเดินทางไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ที่ครูและผู้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ครูรักเด็ก เด็กก็รักครู
         7. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ต้องเน้น คุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลงานของครู ในการออกแบบการเรียนรู้ควบคู่กัน

รายงานกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ 

          เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ในการจัดกระทำกับข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ส่งผ่านหรือแพร่กระจายสารสนเทศ จัดระบบสารสนเทศ ค้นคืนสารสนเทศ รวมทั้งดัดแปลง ตัดต่อ เพิ่มเติม วิเคราะห์สังเคราะห์สารสนเทศให้ได้ผลออกมาตามต้องการและมันสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมากมายมหาศาล

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ประเภทดั้งเดิม (manual tool and technique) ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือประเภทดินสอ ปากกา พู่กัน สี ใช้เขียนตัวอักษรหรือวาดรูป ในสมัย โบราณตั้งแต่ที่มีการจารึกหรือแกะสลักหิน หรือวัตถุแข็งทนทานด้วยเครื่องมือเหล่านี้
          ประเภทเครื่องจักรกล (machine tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบกลไกการทำงาน โดยการออกแบบเครื่องมือขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งทำงานได้ดีกว่าเครื่องมือแบบแรก สามารถทำซ้ำที่เหมือนเดิมได้และทำได้มากกว่าในการทำงานแต่ละครั้ง ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องอัดสำเนามือหมุน เครื่องพิมพ์ เครื่องบันทึกเสียงยุคแรก กล้องถ่ายรูปฟิล์มกระจก เป็นต้น
          ประเภทเครื่องมืออัตโนมัติ (auto-machine) เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยอาศัยกำลังจากระบบกระแสไฟฟ้ามาช่วยทำให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการจัดทำ จึงเกิดการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น พิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องอัดสำเนาไฟฟ้า เครื่องพิมพ์ระบบกำลังไฟฟ้า เทปบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูปอัตโนมัติต่างๆ เป็นต้น
          ประเภทเครื่องมือยุคใหม่ (modern I.T.) ได้แก่ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญทำให้สามารถรับ-ส่ง บันทึกหรือเก็บข้อมูลและสารสนเทศ การค้นคืนข้อมูล การแปรผลข้อมูลการจัดกระทำรวมทั้งส่งผ่านหรือถ่ายทอดทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว และผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันได้ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ และมีบทบาทสูงอย่างยิ่งในการจัดการข้อมูลและสารสนเทศในยุคปัจจุบัน

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ระบบปิด (closed system) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลสารสนเทศหรือตามวัตถุประสงค์แล้วไม่เชื่อมต่อหรือส่งผ่านไปถึงผู้อื่นหรือระบบอื่น เช่น การสร้างฐานข้อมูลเฉพาะเรื่อง เฉพาะคน หรือเฉพาะองค์กร
          ระบบเปิด (open system) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลสารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์แล้วติดต่อเชื่อมโยง หรือส่งผ่านเผยแพร่ไปสู่บุคคลหรือองค์กรอื่นหรือบุคคล หรือสาธารณชนก็ได้ ระบบนี้จะมีลักษณะเป็นเครือข่ายกัน(network) ซึงปัจจุบันจะเป็นระบบใหญ่ของโลก เรียกว่าอินเตอร์เน็ต() เช่น www (World Wide Web)
          ระบบกึ่งเปิด-ปิด หรือเปิดเฉพาะบางกลุ่ม (Group system) เป็นระบบที่ไม่ใช่การสร้างฐานข้อมูลขึ้นใช้ตามลำพัง ไม่ติดต่อกับใครในแบบที่ 1 แต่ก็ไม่เปิดกว้างให้ใครๆ เข้ามาใช้หรือติดต่อด้วยตลอดเวลาเหมือนระบบที่ 2 ระบบนี้เป็นการรวมกลุ่มกันปฏิบัติการกับฐานข้อมูล หลายๆฐานเพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น ในองค์กรบางองค์กรที่มีอาคารที่ทำการหรือที่ตั้งสำนักห่างกันก็จะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นระบบซึ่งอาจเป็นแบบLAN หรือ WAN ก็ได้

ระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการ หรือระบบการจัดกระทำของเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ จำแนกเป็น 4 ระบบ
          1. ระบบกลไกล (mechanical system) ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโบราณที่ใช้ในการเจาะรูบัตรกระดาษ
          2. ระบบแม่เหล็ก (magnetic system) เป็นการใช้ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาแทนระบบบัตรเจาะรูเพื่อการบันทึกหรือจัดกระทำข้อมูลโดยแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า บันทึกไว้แล้วแปลงสัญญาณกลับเป็นสารสนเทศเดิมกลับคืน
          3. ระบบแอนะล็อก (analog) เป็นระบบสารสนเทศเป็นสัญญาณที่ส่งผ่านอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายในการบันทึกหรือรับส่งข้อมูล
          4. ระบบดิจิตัล (digital system) เป็นระบบที่ตรงข้ามกับแอนะล็อก คือเป็นระบบสัญญาณเปิด-ปิดเป็นระยะๆซึ่งมีผลการใช้งานดีกว่าระบบแอนะล็อก

รายงานกลุ่มที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ (Knowledge management strategy) 

ยุทธศาสตร์ 6 กลุ่ม ของ APQC
          APQC ย่อมาจาก American Productivity and Quality Center ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดการความรู้ไว้ 6 ประการคือ
          1. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ทั่วทั้งองค์กร
          2. ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice)
          3. ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
          4. ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล
          5. ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual asset)
          6. ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร
          เป็นยุทธศาสตร์ขององค์กรที่มีพื้นฐานด้านความรู้ดีมาก มีความเชื่อมั่นว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายต่อความเจริญในระยะยาว และต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการในด้านการจัดการความรู้ มีการดำเนินการจัดการความรู้ อย่างครบถ้วนและเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร และมักจะมีความเชื่อว่าความรู้เป็น “ผลิตภัณฑ์” อย่างหนึ่งขององค์กร

ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
          มักใช้เป็นยุทธศาสตร์เสริม เพื่อพัฒนาการดำเนินการและพัฒนาความรู้ที่ฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์หรือบริการองค์กรที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้จะเน้นการทำงานเป็นทีม เน้นความสัมพันธ์และการทำงานเป็นเครือข่ายสำหรับเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ องค์กรมักมีวิธีการที่หลากหลายในการส่งเสริมความร่วมมือกันในการถ่ายทอดความรู้ ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice centers) ชุมชนแห่งการปฏิบัติ (community of practice) รวมทั้งมักจัดระบบสำหรับปรับโครงสร้างคลังข้อมูล และระบบการกระจายความรู้

ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
          หลักการสำคัญคือ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการรวบรวม จัดระบบ และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ในด้านพฤติกรรมและแรงจูงใจของลูกค้า ความแตกต่างระหว่างยุทธศาสตร์นี้ กับกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์โดยทั่วไป อยู่ที่การเน้นความรู้ที่ได้มาจากการสอบถามลูกค้าเป็นสำคัญ

ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล
          ยุทธศาสตร์นี้เน้นความเชื่อว่า ความรู้เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นเจ้าของ จึงต้องมีมาตรการสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลให้ค้นหา คงไว้ และขยายความรู้ โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนในองค์กรปรับความรู้ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ความรู้ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างสามารถ ยุทธศาสตร์นี้เน้นว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ระบบอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบแรงจูงใจจึงต้องส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับบุคคล และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคล ให้การตอบแทนแก่การสอนงาน (coaching) การเป็นพี่เลี้ยง(mentoring) และการพัฒนาตนเองเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์นี้ คือ การสร้างวัฒนธรรมความรู้เข้มข้น

ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา
          เน้นการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ในกลุ่มสิทธิบัตร ขั้นตอนการทำงาน ลูกค้าสัมพันธ์ และสินทรัพย์เชิงโครงสร้าง การดำเนินการเน้นการประเมิน การจัดระบบ การตีค่า การรักษาความปลอดภัย การเพิ่มความพร้อมในการส่งมอบ และความพร้อมด้านการตลาดของสินทรัพย์เหล่านี้

ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม
          เน้นการสร้างความรู้ใหม่ โดยการยกระดับความรู้เดิม เครื่องมือที่ใช้คือ “เกลียวความรู้” การดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้ทำให้เกลียวความรู้หมุนขึ้นยุทธศาสตร์นี้ทำยาก เพราะต้องใช้นวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับกิจกรรมริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งต้องการองค์ประกอบอื่น ๆอีกหลายอย่าง เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์

รายงานกลุ่มที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้ คือ กระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทําให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งองค์กรจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรซึ่งมีขั้นตอนทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังต่อไป 

1.การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 
- การบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี 
- วิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ 

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) 
- สร้างและแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายทั้งภายใน ภายนอก เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ 

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) 
- แบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน 

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 
- จัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร 
- เรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการ 

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 
- ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ 

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) 
- การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) 
- ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) 
- การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) 

7. การเรียนรู้ (Learning) 
- นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ 
- แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร 

รายงานกลุ่มที่ 1 แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้

แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้ 

แนวความคิดของ Thai-UNAids Model (TUNA Model)
          แบ่งวงจรการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน คือ
          (1) Knowledge Vision (KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?”
          (2) Knowledge Sharing (KS) เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          (3) Knowledge Assets (KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” ที่ทำให้มีการนำความรู้ไปใช้งานและมีการต่อยอดยกระดับ 


วงจรการเรียนรู้ตามรูปแบบแนวคิดของThai-UNAids Model (TUNA Model) 


แนวความคิดของบริษัท ซีร็อค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Xerox Corporation) 
          การจัดการความรู้ตามแนวความคิดของบริษัท ซีร็อค คอร์ปอเรชัน จำกัด ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลักคือ
          1. การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม ( Transition and Behavior Management )
          2. การสื่อสาร(Communication) เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ทุกคนในองค์การเข้าใจในการจัดการเรียนรู้
          3. กระบวนการและเครื่องมือ (process and Tools) องค์การจะมีการพิจารณาและคัดเลือกกระบวนการ และเครื่องมือทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
          4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้(Training and learning) เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทุกระดับ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการ และการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ และมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับ การใช้ระบบหรือเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          5. การวัดผล(Measurement) เป็นสิ่งสำคัญที่บอกถึงสถานะของกระบวนการ หรือกิจกรรมภายในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงกระบวนการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
          6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Reward) เป็นการสร้างแรงจูงใจในช่วงเริ่มต้น เพื่อโน้มน้าวให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้

แนวความคิดของสตีเฟน เอฟ. กุ๊ดเฟลโลว์
          นำเสนอแนวความคิดการจัดการความรู้ หรือแบบจำลองปัจจัยขององค์การแห่งความรู้ ดังนี้
          1. พันธกิจ- วัตถุประสงค์ขององค์การ (Mission state-The Corporate Objective) จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้ต้องมีความสอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ ดังนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับแหล่งของความรู้ภายในและภายนอก และความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแข่งขัน
          2. การจัดการเนื้อหา(Content management) เป็นการเก็บ การจัดการ การสะสม องค์การที่มีคลังข้อมูลที่มีความหลากหลาย และมีการนำไปใช้ประโยชน์ต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนในแต่ละความสำคัญ เพื่อจะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย3. การจัดการกระบวนการ (Process Management)
          3. การจัดการกระบวนการ (Process Management) เป็นการใช้เครื่องมือในการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การนำข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์ และคุณค่าจากประสบการณ์ ความชำนาญที่มีอยู่ในองค์การ การจำแนกผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องและการค้นหาบทเรียนแห่งการเรียนรู้เป็นหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกที่จะกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันความรู้
          4. การจัดการการสื่อสาร (Communication Management) เป็นส่วนสำคัญขององค์การแห่งความรู้ คือ ความร่วมมือของคนภายในและภายนอกองค์การ เป็น แหล่งของข้อมูลข่าวสารที่จะสร้างความรู้ ประสบการณ์ของคนที่ยังไม่สามารถสร้างคลังความรู้ได้ ของธุรกิจ

แนวความคิดของมาร์ควอร์ดท์ (Marquardt)
          มาร์ควอร์ดท์ ได้นำเสนอแนวความคิดการจัดการความรู้ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
          1. การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) องค์การควรแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์ และมีผลต่อการดำเนินงานจากแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์การด้วยวิธีการต่างๆ
          2. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) เป็นการสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ภายใต้หน่วยงาน หรือคนในองค์การเป็นผู้สร้างความรู้รูปแบบต่างๆ
          3. การจัดเก็บและการสืบค้นความรู้(Knowledge Storage and Retrieval)
         4. การใช้ประโยชน์ และการถ่ายโอนความรู้ (Knowledge transfer and Utilization) การถ่ายทอดความรู้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                    การถ่ายทอดความรู้โดยตั้งใจมีวิถีทางต่างๆ
                    การถ่ายทอดความรู้โดยไม่ตั้งใจ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติหน้าที่ที่ทำทุกวัน โดยไม่ได้มีแบบแผน

แนวความคิดของคาร์ล เอ็ม. วิกก์(Karl M Wiig)
          เป็นการจัดการความรู้อย่างครอบคลุม (CKM: Comprehensive Knowledge Management) ดังต่อไปนี้
          1. กำหนดความรู้ (ทุนทางปัญญา) ที่ต้องสร้างและรักษา
          2. จัดหาและเปลี่ยนรูปแบบความรู้ที่ต้องการ
          3. ทำให้มั่นใจว่าความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในระดับที่เหมาะสม
          4. ควบคุมดูแลการจัดการความรู้

ประเภทของความรู้

ประเภทของความรู้ 

          ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)



ความรู้แบบฝังลึก
          ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่


ความรู้ชัดแจ้ง
          ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร

          ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด

การจัดการความรู้


การจัดการความรู้

          การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
          การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
          รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น